พฤหัสฯ 21  ต.ค.--หยิบเงินหยิบทอง :
ที่มา : บล.กิมเอ็ง

กลยุทธ์วันนี้  990+
     ประเด็นสำคัญวันนี้ SET INDEX วานนี้ปรับฐานลงต่ำสุดของวันเพียง 979.12 จุด และเริ่มเกิดแรงเก็งกำไรหุ้นหลักกลับ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ทำให้ SET INDEX ฟื้นตัวมาปิดที่ 988.11 จุด ลดลงเพียง 1.16 จุด ขณะที่กระแสเงินทุนต่างชาติขายสุทธิทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นไทย
     ทิศทาง SET INDEX วันนี้เชื่อว่าจะขยับขึ้นเพื่อทดสอบแนว 990 จุดอีกครั้ง ซึ่งน่าจะผ่านได้ไม่ยากนัก แม้ว่าจะมีแรงขายหุ้นธนาคารเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนงบ 3Q53 และหมดประเด็นบวกใหม่ต่อการลงทุนในกลุ่มธนาคารช่วงสั้น หลังการประชุมกนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด แต่กลุ่มพลังงานและ SCC น่าจะขยับขึ้นต่อเนื่องจากวานนี้ เพื่อเก็งกำไรต่องบการเงิน 3Q53 บวกกับแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ และปิโตรเคมีเป็นบวก
     ทั้งนี้ KimEng เสนอให้นักลงทุนคอยติดตามการเคลื่อนไหวค่าเงินบาท/US$ เทียบกับทิศทางเงินดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการประเมิมเม็ดเงินต่างชาติเข้า-ออกไทย เพราะช่วงนี้กระแสเงินทุนต่างชาติเริ่มชะลอตัว อาจมีผลต่อจิตวิทยาการลงทุนช่วงสั้น
     กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ : KimEng เสนอ "ถือพอร์ตการลงทุนส่วนที่เหลือ" และแนะนำ "ทยอยสะสม" KTB / DELTA  และขายทำกำไร "AIT / BAY"
     การลงทุนทางเลือก: แนะนำให้นักลงทุน "ถือสถานะ Long ใน S50Z10 ข้ามวัน" Stop Loss: S50Z10 < 678 จุด ปิด Long และ Wait&See
Portfolio HOLD:    CPF/ MINT/  MAJOR/BBL/  SCB/ BANPU / PTTEP / BCP/ CPALL/ THCOM/ BLAND/ DELTA / KCE/ AMATA/ RCL/ DTAC/ SCC/ THAI/ AP/ SPALI/ BEC/ BLA/ TASCO
Accumulative Buy:  KTB/ DELTA
Taking-Profit:     AIT/ BAY
Technical View     แนวรับ 980 จุด, 966-970 จุด และ 950 จุด แนวต้าน 990-999 จุด และ 1,020 จุด แนะนำให้ถือครองหุ้น เพื่อรอจังหวะขายทำกำไร
Strategy Today
     แนวรับ 980 จุดทำงานได้ดี บวกกับDJIA Futures - NYMEX ฟื้นตัวระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย ทำให้ SET INDEX ปิดบวกได้
     แม้ว่า DJIA - NYEX ปรับฐานลงแรงคืนวันอังคารที่ผ่านมา บวกกับตลาดหุ้นหลักในเอเชียอย่าง NIKKEI - HSKI ปรับลงค่อนข้างมาก หลังธนาคารกลางจีนประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps เหนือความคาดหมายของนักลงทุนทั่วโลก กดดันให้ SET INDEX วานนี้ปรับฐานลงต่ำสุดของวัน 979.12 จุดเท่านั้น และเริ่มมีแรงทยอยสะสมหุ้นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานเข้ามา พร้อมๆ กับ SCC ผลักดันให้ SET INDEX วานนี้ปิดที่ 988.11 จุด ลดลง 1.16 จุด หรือ -0.12%  แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 26,605 ล้านบาทเท่านั้น
     กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +3.31%, กลุ่มเหมืองแร่ +3.10%, กลุ่มปิโตรเคมี +2.63% ส่วนกลุ่มหลักอย่างกลุ่มพลังงาน -0.59% กลุ่มธนาคาร -0.74% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ +0.12%
คาด SET INDEX วันนี้น่าขึ้นทดสอบ 990 จุด และมีโอกาสทะลุขึ้นได้ในวันนี้
     ภาพตลาดหุ้นไทยวันนี้น่าจะยังเป็นบวกต่อเนื่องจากวานนี้ เพียงแต่โอกาสขึ้นทดสอบ 1,000 จุดวันนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะมูลค่าการซื้อขายเกือบตลอดสัปดาห์เบาบาง นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังต่อการลงทุน และรอปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนการลงทุน แทนการไล่ซื้อหุ้นเหมือนในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม KimEng ยังคงมีมุมมองเชิงบวก ด้วย
        1. ทิศทางค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า: หลังรมว.คลังสหรัฐฯ Geithner ออกมายอมรับถึงกลยุทธ์การใช้เงินดอลลาร์อ่อนค่า เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ บวกกับความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่การประชุมเฟดต้นเดือนหน้าจะออกมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินเข้ามา ยิ่งกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่ามากขึ้น  
        2. ดอลลาร์อ่อน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ประโยชน์: ไม่ว่าจะเป็น Hard - Soft Commodity ต่างได้ประเด็นบวกจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าทั้งทางตรงและทางอ้อม บวกกับแรงเก็งกำไรต่อมาตรการทางการเงินของเฟด น่าจะช่วยในด้านความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ทีดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
        3. แรงเก็งกำไรงบ 3Q53 น่าจะยังเป็นอีกปัจจัยบวกต่อตลาด: วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของการประกาศงบ 3Q53 ของกลุ่มธนาคาร ลำดับถัดไปตลาดจะเริ่มทยอยประมาณการงบ 3Q53 ของกลุ่มที่ไม่ใช่ธนาคารมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังสามารถเดินหน้าขยับขึ้นต่อได้เช่นกัน
     ทั้งนี้ KimEng แนะนำให้นักลงทุนติดตามค่าเงินบาทระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย: เพราะหากสังเกตกระแสเงินทุนต่างชาติในตลาดหุ้นเกิดใหม่รอบเอเชียเริ่มมีแรงขายสุทธิเข้ามาต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหุ้นไทยนักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิต่อเนื่อง แต่ก็เป็นมูลค่าที่ไม่โดดเด่น อีกทั้งการทยอยขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ตลอด 3 วันที่ผ่านมา ดังนั้น นักลงทุนควรติดตามการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย เพื่อประเมินสถานการณ์กระแสเงินทุนต่างชาติได้ในระดับหนึ่ง
     กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ KimEng เสนอให้นักลงทุนกลับมาพิจารณา "ขายทำกำไรในพอร์ตราว 5-10% บริเวณ 990 จุดหรือสูงกว่าและถือเงินสด" อีกครั้ง แต่หากนักลงทุนต้องการเข้าลงทุนรอบสั้น แนะนำให้เป็นการทยอยเข้าสะสมหุ้นขนาดกลางที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นใน 3Q53 และอาจต่อเนื่องถึง 4Q53 เพื่อใช้เป็นจุดป้องกันความเสี่ยงต่อการปรับฐานลงของราคาหุ้นดังกล่าว
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ ทยอยสะสม หุ้นดังต่อไปนี้
     1. DELTA: ราคาปิด 28.00 บาท ราคาเหมาะสมปรับขึ้นจาก 30.40 บาท เป็น 35.00 บาท
        a. KELIVE ประมาณการ 3Q53 คาด DELTA จะทำกำไรปกติได้ถึง 1.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 129% yoy และ 37% qoq โดยการเติบโตของธุรกิจ solar inverter, power supply สำหรับ network และ telecom รวมถึง ชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์  ทำให้เราคาดการณ์ยอดขายโต 16% qoq และ 44% yoy เป็น 9,951 ล้านบาท สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของการจำหน่ายสินค้าระดับ high-end รวมถึงการประหยัดต่อขนาดในส่วนของค่าใช้จ่ายทำให้เราคาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มจาก 26.1% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 28.4% เป็น 29% ส่วนอัตรากำไรจากการดำเนินงานโตจาก 8.9% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนและ 12.8% ในไตรมาสก่อนหน้าเป็น 15%
        b. คาดกำไรปกติรวม 3 ไตรมาสแรกของปี 2553 โต 125% yoy เป็น 3,362 ล้านบาท ซึ่งเทียบเท่า 92% ของประมาณการทั้งปีเดิมของเรา  และเนื่องจากเราคาดว่าบริษัทจะยังมีกำไรแข็งแกร่งในไตรมาส 4/53 ที่ 859 ล้านบาท (แม้จะลดลงตามฤดูกาล qoq แต่โต 23% yoy)  จึงปรับคาดการณ์กำไรปกติปี 2553 ขึ้น 15% เป็น 4,221 ล้านบาทหรือ 3.23 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราถึง 92% จากปีที่แล้ว
        c. ด้วยมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจของ DELTA จากผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการศักยภาพ ทำให้ KELIVE คาดกำไรปกติในปี 2554 ยังเห็นการเติบโตอีก 4% เป็น 4,407 ล้านบาท คิดเป็น 3.53 บาท/หุ้น (เป็นการปรับเพิ่มจากประมาณการเดิม 16%, สมมติงานอัตราแลกเปลี่ยน 29.88 บาท/US$) โดยเรายังไม่รวมโอกาสที่ธุรกิจในอินเดียจะกลับมาอีกครั้งหลังชะลอตัวมา 1.5 ปีครึ่งจากการแข่งขันด้านราคา)
     2. KTB: ราคาปิด 17.10 บาท ราคาเหมาะสมปรับขึ้นจาก 19.20 บาท เป็น 20.00 บาท
        a. KTB รายงานงบ 3Q53 ออกมาดีกว่าคาด ทำได้ทั้งสิ้น 4,992 ล้านบาท เติบโต 48.0% qoq และ 17.5% yoy แม้ว่ายอดสินเชื่อจะขยายตัวได้เพียง 0.58% qoq เท่านั้น แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหรือ NIM ขยับขึ้นจาก 2.77% ใน 2Q53 เป็น 3.14% ใน 3Q53 บวกกับ Cost to income ratio ลดลงเหลือ 51.01% เป็น 57.45% ในไตรมาสก่อนหน้า
        b. KELIVE ปรับลดสมมติฐานของอัตราภาษีที่แท้จริงลงเป็น 28% จาก 30% ในปีนี้ ส่งผลให้กำไรสุทธิในปีนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิม 4.7% และทำให้ราคาเหมาะสมของ KTB ขยับขึ้นเป็น 20 บาท
        c. จากราคาปิดวานนี้ KTB ซื้อขายที่ PBV ปี 2553-2554 ที่ 1.55x และ 1.47x สูงกว่าเพียง BBL ธนาคารเดียวที่ซื้อขาย 1.41x และ 1.30x ตามลำดับ แต่หากเทียบกับ SCB / KBANK / BAY ถือว่า KTB ยังมีความถูก
และแนะนำ "ขายทำกำไร"
     1. AIT: ราคาปิดวานนี้ 44.25 บาท คาดว่าวันนี้ราคาหุ้นจะฟื้นตัวขึ้นได้และมีโอกาสขึ้นทดสอบ 45 บาท ซึ่งน่าจะเป็นจังหวะของการขายทำกำไร หลังจากที่ KimEng แนะนำให้ ซื้อ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ราคาปิดวันก่อนหน้า 41.75 บาท สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนเกือบ 10% ในช่วงสั้นนี้ บวกกับภาพตลาดที่ผันผวน แม้ว่าจะมีมุมมองเชิงบวกต่อ AIT ในระยะกลางถึงยาวอยู่ก็ตาม
     2. BAY: ราคาปิดวานนี้ 24.70 บาท ด้วยภาพตลาดวันนี้ที่เป็นบวก น่าจะช่วยผลักดันให้ราคาหุ้น BAY ฟื้นตัวขึ้นไปทดสอบ 25 บาทหรือสูงกว่า เทียบกับบริเวณราคา 23.80 บาท ซึ่งเป็นช่วงเวลาแนะนำทยอยสะสม เพื่อเก็งกำไรงบ 3Q53 ก่อนหน้านี้ แม้ว่าจะสร้างผลตอบแทนเพียง 5% และมุมมองต่อการลงทุนใน BAY ระยะกลางถึงยาวยังคงเป็นบวกก็ตาม แต่ในช่วงสั้น ปัจจัยบวกที่จะเอื้อต่อราคาหุ้น BAY ยังเป็นไปอย่างจำกัด
What will DJIA move tonight? 
     คืนนี้ไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ 
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets เม็ดเงินทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
     กระแสเงินทุนต่างชาติของตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชียไม่รวม SET วานนี้ยังเป็นการขายสุทธิอีก US$305 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$211 ล้าน เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนรอบเอเชียวานนี้ค่อนข้างเป็นลบ จากแรงกดดันของ DJIA - NYMEX คืนวันก่อนหน้า ทำให้นักลงทุนต่างชาติต้องลดน้ำหนักการลงทุน เพื่อปิดความเสี่ยงช่วงสั้น
     ทั้งนี้เป็นการขายสุทธิ 4 ใน 5 ตลาดยกเว้นเพียงตลาดหุ้นเวียดนาม ที่มีการซื้อสุทธิ US$0.16 ล้าน ลดลงจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$4 ล้าน
     ตลาด TAIEX ยังคงถูกลดน้ำหนักการลงทุนต่ออีก US$110 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$176 ล้าน ขณะที่ตลาด KOSPI นั้นถูกขายสุทธิสูงสุดใน 4 ตลาด US$182 ล้าน จากวันก่อนหน้าที่ยังซื้อสุทธิ US$113 ล้าน 
ธุรกรรม Short-Selling วานนี้ ธุรกรรม Short-selling เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น หลัง SET INDEX ปรับฐานลงแรง
     Stock  Total Value   % of trading     Avg.Price
             (mn Bt)         Volume           (Bt)
IVL            22.08          1.82%          37.42
LH             15.11         10.07%           7.25
SCB            14.63          3.73%         104.50
TOP             5.43          1.16%          54.25
BANPU           4.46          0.25%         743.00
     การทำธุรกรรม Short-selling วานนี้ลดลงอีกเหลือเพียง 90 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 92 ล้านบาท เมื่อ SET INDEX ฟื้นตัวขึ้น และแม้ว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย แต่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางในตลาดรวม และปัจจัยการลงทุนรอบด้านเป็นกลางถึงบวก ทำให้ Downside Risk ของตลาดหุ้นไทยจำกัด
     หุ้นที่นักลงทุนเลือกทำ Short-selling วานนี้เป็นการกระจายการลงทุนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะเลือก IVL เป็นหุ้นที่มีมูลค่า Short-selling สูงสุด แต่ก็เพียง 22 ล้านบาท และในความเห็นของ KimEng ดูเหมือนจะเป็นการเสี่ยงต่อการทำธุรกรรมนี้บนหุ้น IVL แม้ว่าราคาหุ้นที่ขยับขึ้นอย่างโดดเด่น เมื่อเทียบกับภาพรวมของตลาดหุ้นไทยวานนี้ แต่ IVL มีประเด็นบวกที่รองรับ Downside Risk ของหุ้นนี้อยู่คือ การซื้อกิจการทั้งในยุโรป จีน และอินเดีย ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป แต่นี่คือ Upside Gain ของหุ้น
นักลงทุนต่างชาติวานนี้ลดพอร์ตการลงทุนทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทย
     บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นทั่วเอเชีย และยุโรปไม่ชัดเจน หลัง DJIA - NYMEX ปรับฐานลงแรงคืนวันก่อนหน้า ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มระมัดระวังต่อการลงทุนในเอเชียมากขึ้น จะเห็นได้จากการลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น TAIEX ต่อเนื่อง สำหรับตลาดหุ้นไทยวานนี้นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาขายสุทธิอีกครั้ง 1,056 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 778 ล้านบาท ขณะที่ตลาด Futures นั้นนักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงมีสถานะ Short สุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 และมากถึง 1,786 สัญญา เทียบกับวันก่อนหน้า Short สุทธิ 405 สัญญา
     ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 และมากถึง 3,491 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 813 ล้านบาท รวมการขายสุทธิตลอด 3 วันทำการ 4,699 ล้านบาท หลังกนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย RP1 วันตามที่คาด
และ NVDR ขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 11 วันทำการ โดยเป็นการลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคารเป็นหลัก
     การซื้อขายผ่าน NVDR วานนี้กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 11 วันทำการ แต่ก็เพียง 298 ล้านบาท เทียบกับตลอด 10 วันที่ผ่านมาซื้อสุทธิไปทั้งสิ้น 11,650 ล้านบาท ทั้งนี้ NVDR เป็นการลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคาร เพื่อสะท้อนงบการเงิน และหมดประเด็นบวกช่วงสั้น สรุปภาพรวมของ NVDR ได้ดังต่อไปนี้
     1. กลุ่มธนาคารถูกขายสุทธิสูงสุด 284 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 127 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มเกษตร ขายสุทธิ 163 ล้านบาท และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 45 ล้านบาท
     2. ด้านกลุ่มพลังงานยังคงเป็นเป้าหมายหลักของการซื้อสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 5 แต่ก็เพียง 102 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 758 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้างซื้อสุทธิ 65 ล้านบาท และกลุ่มอาหารซื้อสุทธิ 65 ล้านบาท
ซื้อสุทธิสูงสุด   มูลค่าสุทธิ  % มูลค่าการซื้อขาย  ขายสุทธิสูงสุด   มูลค่าสุทธิ % มูลค่าการซื้อขาย
            (ล้านบาท)                                          (ล้านบาท)    
BANPU        392.68       20.37         BBL       -206.71      41.67
SCC           90.69       23.67         PTT       -199.56       6.39
KBANK         52.03       14.83         STA       -163.04       9.38
TISCO         50.87        7.94         SCB        -83.90      11.38
MINT          41.06       17.72         KTB        -59.06       8.86
     กลุ่มพลังงานนั้น BANPU ยังเป็นเป้าหมายหลักของการสะสมมากที่สุดของกลุ่มนี้เป็นวันที่ 3 อีก 393 ล้านบาท แม้ว่าจะซื้อสุทธิลดลงจากวันก่อนหน้า 743 ล้านบาทก็ตาม แต่เป็นการส่งสัญญาณบวกต่อ BANPU ขณะที่หุ้นอื่นในกลุ่มเริ่มเห็นการลดน้ำหนักลง ไม่ว่าจะเป็น PTT ขายสุทธิ 200 ล้านบาท ตามมาด้วย TOP, PTTEP และ PTTAR ขายสุทธิ 39 ล้านบาท, 36 ล้านบาท และ  26 ล้านบาทตามลำดับ 
     ด้ายกลุ่มธนาคาร NVDR ยังคงเลือกลงทุนใน KBANK ต่อเนื่องอีกแต่ก็เพียง 52 ล้านบาท  และ TISCO ซึ่งได้ประโยชน์จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ ซื้อสุทิ 51 ล้านบาท แต่ลดน้ำหนักการลงทุนใน BBL  / SCB / KTB อย่างโดดเด่น