จันทร์ 18 ต.ค.--Daily Focus :
ที่มา : บมจ.ฟินันเซีย ไซรัส

Today's Report : Weekly report, ITD, SAMTEL
Our Portfolio Oct 2010 : BANPU, PTTEP, SCB, TUF, STEC
ตลาดอ่อนตัวยังหาจังหวะเลือกหุ้นรับได้ เพราะมีสิทธิขยับขึ้นเหนือ 1000
     แนวโน้ม: ในช่วงท้ายของสัปดาห์ที่แล้ว SET เริ่มแกว่งตัวแคบๆ ในกรอบ 990-1000 จุด เพื่อรอดูท่าทีที่ชัดเจนของแบงก์ชาติจากการประชุม กนง. ในช่วงกลางสัปดาห์นี้(20 ต.ค.) เกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ตาม FSS คาดว่าถ้าตลาดปรับตัวลงในช่วงนี้ยังเป็นจังหวะเลือกหุ้นทยอยเข้ารับได้ เนื่องจากเม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เริ่มเข้าสู่ช่วงประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/53 ของ บจ. ต่างๆ แล้วด้วย ซึ่งเราคาดว่าหลายบริษัทยังมีแนวโน้มผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีอยู่ รวมถึงความคาดหวังว่าสหรัฐจะเพิ่มมาตรการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม Fed วันที่ 2 ึ 3 พ.ย. นี้ นอกจากนี้การประชุม G20 วันที่ 11 ึ 12 พ.ย. คาดว่าจะเป็นแรงกดดันให้จีนยอมปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าอีกซึ่งค่าเงินในเอเชียจะแข็งค่าขึ้นตามด้วยกลยุทธ์: ช่วงตลาดปรับพักตัวลง สามารถเลือกหุ้นเข้ารับได้ ซึ่งหุ้นที่ยังน่าสนใจได้แก่ PTTEP, PTT, PTTCH, PTTAR, BANPU, SCB, BBL, KBANK, ITD, CK, STEC, SEAFCO, SPALI เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
     (+) Bernanke ทำให้ตลาดยิ่งมั่นใจกับ QE2 สุนทรพจน์ของ Bernanke คืนวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ย้ำว่าจะเพิ่มมาตรการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม Fed วันที่ 2 ึ 3 พ.ย. นี้ ยิ่งตอกย้ำ "การคาดการณ์" ของตลาดว่า Fed จะมีมาตรการ QE2 แม้จะเป็นข่าวดีบนข่าวร้ายแต่อย่างน้อยที่สุดเป็นผลดีกับตลาดหุ้นในระยะสั้น ถัดไปการประชุม G20 กลาง พ.ย. หากจีนยอมให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นตามที่ถูกกดดัน ค่าเงินในเอเชียจะแข็งค่าขึ้นตาม การเคลื่อนย้ายเงินทุนก็จะมุ่งหน้ามายังเอเชียต่อเนื่อง
     (-) ระวัง Sell on fact หลังการประชุม Fed 3 พ.ย. นี้แม้จะเป็นหรือไม่เป็นไปตามคาด Fed ไม่ออก QE2 หรือจำนวนน้อยกว่าตลาดคาดมาก ให้ระวังแรงขาย Sell on fact ระยะสั้น ซึ่งถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นอีกรอบ
     (+) กลุ่มที่ขับเคลื่อนตลาดยังคงเป็น Big cap. ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีเป็นหลัก (PTT, PTTEP, PTTCH, PTTAR) และกลุ่มแบงก์ (SCB, KBANK, BBL, TCAP) สำหรับกลุ่มอื่นๆ เราแนะนำสะสมหุ้น Turnaround ใน3Q10 เช่น SEAFCO, CK, TPOLY, RCL, MINT เป็นต้น
     (+) ธปท. ส่งสัญญาณไม่ขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุม กนง. วันที่ 20 ต.ค. นี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% เพราะเงินเฟ้อเดือน ก.ย. ยังไม่ได้เร่งตัว ขณะที่เงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง เป็นบวกกับกลุ่มที่ Sensitive กับดอกเบี้ย เช่นกลุ่มอสังหาฯ รับเหมา เช่าซื้อ เช่น ITD, CK, STEC, TTCL, TPOLY, SPALI, LPN, TISCO, KK, TCAP
     Foreign Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมาซื้อลดลง ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดเอเชียในวันศุกร์แต่เป็นเม็ดเงินที่ลดลงจากวันก่อนหน้าในทุกตลาดและทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมา (11-15 ต.ค.) ต่างชาติซื้อสุทธิเพียง 40% ของสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม MSCI Asia ex Japan ยังปรับตัวขึ้นได้ 1.9% W-W ดีกว่า MSCI World ที่ +1.1% W-W การซื้อลดลงของต่างชาติในวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่ได้มีนัย เป็นเพียงการพักตัวระยะสั้น แต่ทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนยังคงไหลเข้ามาเอเชียต่อเนื่อง
     * ตลาดหุ้นสหรัฐยังแกว่งตัวค่อนข้างผันผวน แม้ว่าสุนทรพจน์ของ Bernanke ที่ Fed สาขาบอสตันคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาจะย้ำว่าต้องมีการเพิ่มมาตรการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม Fed วันที่  2 ึ 3 พ.ย. นี้ ขณะที่ผลประกอบการที่สดใสของ กูเกิล อิงค์ ก็ช่วยหนุนให้ดาวโจนส์บวกขึ้นไปได้ในระหว่างวัน ก่อนที่จะมีแรงขายกดดันให้ย้อนลงมาปิดเป็นลบไป 31.79 จุด จากความไม่แน่นอนของกลุ่มธนาคารเกี่ยวกับผลขาดทุนจากการยึดทรัพย์จำนอง
     * ตลาดหุ้นในยุโรปมีทั้งบวกและลบ โดยมีปัจจัยบวกจากการคาดหวังถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐ แต่ได้รับแรงกดดันจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่อ่อนแอลง
     * ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดร่วงลง 1.44 ดอลลาร์อยู่ที่81.25 ดอลลาร์ ภายใต้การซื้อขายที่ค่อนข้างผันผวน หลังดอลลาร์ดีดขึ้น
     * ราคาทองคำ COMEX เดือน ธ.ค. ปิดลดลง 5.60 ดอลล์อยู่ที่ 1,372.00 ดอลลาร์/ออนซ์ จากแรงขายทำกำไรหลังดอลลาร์เริ่มดีดตัวขึ้น
     * BDI Index ปิดที่ 2762 จุดลดลง 7 จุด หลังบวกขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ข่าวภายในประเทศ
     * "กรณ์" รับข้อเสนอ ING ทาบหาพันธมิตรใหม่ ขายมากกว่า3.80บ.-ชม"บุญทักษ์"ผลงานเยี่ยม คลังยอมรับข้อเสนไอเอ็นจีกรุ๊ป เลือกพันธมิตรใหม่เอง ร่วมซื้อหุ้นจากคลัง 26% หลังผู้บริหารใหญ่ต่างชาติเข้าพบระหว่างไปร่วมประชุมผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงิน ระบุบริษัทแม่ที่เนเธอร์แลนด์กำไรดี เริ่มคิดขยายกิจการ ส่วนราคาขายต้องมากกว่าต้นทุนคลัง 3.80 บาท ชม "บุญทักษ์ หวังเจริญ" เอ็มดี TMB ผลงานดีมาก บริหารมีกำไรต่อเนื่องหลายไตรมาส ด้านโบรกฯยันราคาเป้าหมายของ TMB เพิ่มเป็น 3.50 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
     * SAMART ปูพรม 3G ยึดลูกค้า1.5 แสนราย SAMART สู้ยิบตาขอยึดหัวหาดทำตลาด MVNO พื้นที่ กทม. หลังทีโอทีแบะท่ารับยักษ์มือถือทั้ง 3 เจ้าร่วมวง 3 จี งัดแพ็กเกจโดนใจ หวังเรียกลูกค้าเพิ่ม พร้อมปล่อยมือถือไอ-โมบายเขย่าตลาดโค้งสุดท้ายปีกว่า 10 รุ่น มั่นใจลูกค้าเอ็มวีเอ็นโอสิ้นปี 1.5 แสนราย (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
     * HTECH ลุยรถยนต์เพิ่มตลาดชิ้นส่วนเป้ารายได้ 350 ล้าน HTECH ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าตลาดชิ้นส่วนรถยนต์เป็น 25% จาก 10% รุกเจาะตลาดภูมิภาคเอเชีย มองอนาคตสดใส "พีท" เชื่อทั้งปีรายได้โตตามเป้า 350 ล้านบาท การลงทุนที่ฟิลิปปินส์ เดินเครื่องผลิตเดือนธ.ค.นี้ ตั้งเป้ารายได้ปีแรก100 ล้านบาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
     * HMPRO ยอดขายโต 20%รายได้เอ็กซ์โป 650 ล้าน HMPRO ปีนี้ยอดขายโต 20% สิ้นเดือนต.ค.นี้เปิดสาขาใหม่ที่นครศรีธรรมราช รวมทั้งปี 40สาขา ด้านงาน Homepro EXPO ครั้งที่ 12 ตั้งเป้ายอดขาย 650 ล้านบาท ส่วนปี'54 เปิดสาขาใหม่ 4-5 สาขา รุกขยายตลาดมาเลเซีย (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
     * TTA-PSL-RCL ได้เวลาออกจากท่า ค่าระวางเรือเริ่มขยับ จับตางบไตรมาส 3 กระฉูด ถึงเวลาหุ้นเดินเรือออกแล่น วงการชี้ได้คิวราคาหุ้น TTAPSL-RCL ขยับบ้าง หลังจากที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาด สินแร่เหล็กขาขึ้นช่วยดันค่าระวางเรือเพิ่ม ฟาก TTA เตรียมโชว์กำไรไตรมาส 4 ขั้นต่ำ300 ล้านบาท ได้กำไรพิเศษช่วยดัน ส่วน RCL พร้อมโชว์พลิกกำไรตามติดขานรับออเดอร์ขนส่งคอนเทนเนอร์พุ่ง (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
     * ไฟเขียวหุ้น GUNGUL เริ่มซื้อขาย 19 ต.ค.นี้ เข้าอยู่หมวดพลังงาน "กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง" ผู้ประกอบธุรกิจผลิตจัดหาและจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องระบบไฟฟ้าและพลังงานทดแทน พร้อมซื้อขายในกลุ่มทรัพยากร หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค ในตลาดหลักทรัพย์ 19 ตุลาคมนี้ หลังระดมทุน540 ล้านบาท โดยใช้ชื่อย่อการซื้อขายว่า "GUNKUL"(ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
     * TPOLY การันตีรายได้ปีนี้ 2 พันล้าน เป้าใหม่ 3 บาท อัพไซด์ 33% มั่นใจปีหน้าพื้นฐานสดใส TPOLY อานิสงส์พื้นฐานแจ่ม ปี 2554 ตั้งเป้ารายได้โต 20% จากปีนี้คาดทำได้ 2,000 ล้านบาท ขณะที่ตุน Backlog ในมือกว่า 3,900 ล้านบาท กินยาวถึงปีหน้า หวังโกยกำไรจากธุรกิจโรงไฟฟ้าปีละ 30 ล้านบาท โบรกฯคาดกำไรปีนี้พุ่ง 116% เป็น 85 ล้านบาท แนะซื้อเป้าหมายใหม่ 3 บาท เหลืออัพไซด์ 33% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 18-10-2010)
ข่าวต่างประเทศ
     * ยุโรป: สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ยุโรปเผยยอดขายรถยนต์ใหม่เดือนก.ย.ในกลุ่มอียูหดตัว 9.6% สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งยุโรป (ACEA) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่เดือนก.ย.ของ 27 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ร่วงลง 9.6% ต่อปี ซึ่งปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รายงานของ ACEA ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ของทุกประเทศในกลุ่มอียูหดตัวลงในเดือนก.ย. โดยยอดขายในสเปนดิ่งลง 27.3% ขณะที่ยอดขายในอิตาลีร่วงลง18.9% ยอดขายในเยอรมนีลดลง 17.8% ยอดขายในอังกฤษลดลง 8.9% และยอดขายในฝรั่งเศสลดลง 8.2% (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-10-2010)
     * ยุโรป: ยอดขาดดุลการค้าของกลุ่มยูโรโซนเดือนส.ค.แตะระดับ $6 พันล้าน สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือกลุ่มยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 4.3 พันล้านยูโร (6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนส.ค. ยอดส่งออกเดือนส.ค.ของกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้น 1% ขณะที่ยอดนำเข้าพุ่งขึ้น 1.8% ซึ่งส่งผลให้ยูโรโซนมียอดขาดุลการค้าในเดือนส.ค. หลังจากที่มียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 6.2 พันล้านยูโร (8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนก.ค. (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-10-2010)
     * ยุโรป: ยูโรสแตทเผยอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้น 1.8% เดือน สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อใน 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือกลุ่มยูโรโซน เพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.8% ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 เดือน แต่ยังต่ำกว่าเพดาน2% ที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กำหนดไว้เพื่อให้ระดับราคาในกลุ่มยูโรโซนมีเสถียรภาพ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-10-2010)
     * สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยดัชนี CPI เดือนก.ย.ขยายตัว 0.1% ขณะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.ลดลง กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนก.ย.เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานปรับตัวสูงขึ้น แต่อัตราการขยายตัวของ CPI ในเดือนก.ย.ช้ากว่าที่ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. (ที่มา: อินโฟเควสท์ 16-10-2010)
     * สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค.-ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.โต 0.6% กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค.ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% ต่อเนื่องจากที่ขยายตัว 1.1% ในเดือนก.ค. ทำสถิติขยายตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน(ที่มา: อินโฟเควสท์ 16-10-2010)
     * สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยยอดค้าปลีกเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 0.6% ทำสถิติเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนส.ค. แตะระดับ 3.677 แสนล้านดอลลาร์ ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และหากเทียบเป็นรายปียอดค้าปลีกเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 7.3% เพราะได้แรงหนุนจากยอดขายอาหารและยานยนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้น (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-10-2010)
     * เอเชีย: ญี่ปุ่นเผยดีมานด์ภาคบริการเดือนส.ค.หดตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน บ่งชี้ศก.ญี่ปุ่นฟื้นตัวช้า กระทรวงการค้าญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ความต้องการด้านการบริการในเดือนส.ค.ของญี่ปุ่นปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ซึ่งเป็นหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ ดัชนีความต้องการในภาคบริการของญี่ปุ่น (tertiary index) ประจำเดือนส.ค.ลดลง 0.2% หลังจากพุ่งขึ้น 1.6% ในเดือนก.ค. (ที่มา: อินโฟเควสท์ 18-10-2010)