อังคาร 5 ต.ค.--หยิบเงินหยิบทอง :
ที่มา : บล.กิมเอ็ง

กลยุทธ์วันนี้                      Rebound and Sideways
     ประเด็นสำคัญวันนี้ ตลาดหุ้นไทยวานนี้แม้ว่าจะไต่ระดับขึ้นทดสอบ 980 จุดได้แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้นเท่านั้น เพราะเกิดแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค และการลงทุนภายในประเทศ อย่าง SCC/ KBANK / BBL รวมถึงความกังวลต่อมาตรการควบคุมการซื้อขาย Derivatives Warrant กดดันบรรยากาศการลงทุน SET INDEX ปิดลดลงเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ นักลงทุนต่างชาติเป็นเพียงนักลงทุนกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย มากถึง 3.6 พันล้านบาท
     สำหรับภาพ SET INDEX วันนี้น่าจะเปิดย่อตัวลงเล็กน้อยสู่บริเวณ 960 +/- จุด ก่อนที่จะเกิด Technical Rebound บวกกับการปรับฐานลงของ SET INDEX วานนี้ ด้วยประเด็นความกังวลต่อธปท. อาจออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทในช่วงสั้น บวกกับปัญหาด้านการเมืองภายในประเทศ ซึ่งหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดจะพบว่า ผู้ว่าการธปท.ท่านใหม่ ดร.ประสาร ได้เดินทางเข้าประชุมกับ IMF ซึ่งจะกลับกลางเดือนต.ค. ส่วนประเด็นการเมืองภายในประเทศถือว่าการเคลื่อนไหวต่างๆ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ความเสี่ยงยังอยู่ในระดับจำกัด แต่ต้องยอมรับว่าประเด็นนี้ก็ไม่สามารถละเลยได้เช่นกัน
     ดังนั้นการปรับฐานลงดังกล่าวจึงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยพื้นฐาน แต่กลับกลายเป็นการเปิด Upside ให้แก่ SET INDEX เพิ่มขึ้นราว 4% สู่ระดับ 1,000 จุด ซึ่ง KimEng เชื่อว่าภายในสัปดาห์นี้ระดับดังกล่าวยังมีโอกาสได้ขึ้นทดสอบ ด้วยกระแสเงินทุนต่างชาติยังคงหนาแน่นในตลาดหุ้นทั่วเอเชียและไทย บวกกับสถาบันภายในประเทศอาจกลับมาซื้อสุทธิได้อีก
     กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ : KimEng เสนอ "ถือพอร์ตการลงทุนส่วนที่เหลือ"  และแนะนำ "ทยอยสะสม AMATA/ / KTB"
     การลงทุนทางเลือก : แนะนำให้นักลงทุน "ปิดสถานะ Short S50Z10 บริเวณ 660 จุด และเปิด Long ณ บริเวณเดียวกัน" และถือข้ามวัน Stop Loss: S50Z10 < 655 จุด ปิด Long และเปิด Short
Portfolio Hold:  CPF/ MINT/  MAJOR/ BBL/ KTB/ BAY/ KBANK/ BANPU / PTTEP /CPALL/ TTA/ THCOM/ BLAND/ DELTA / KCE/ AMATA/ RCL/ DTAC/ SCC/THAI/ RCL
Buy :            AMATA / KTB
Technical View   แนวรับ 950-955 จุด, 944-946 จุด และ 923-930 จุด ส่วนแนวต้าน 965-970 จุด, 985 จุด และ 990- 999 จุด ทั้งนี้ซื้อขายระยะสั้นตามกรอบที่กำหนด
Strategy Today
SET INDEX ปรับฐานลงเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ
     แม้ว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียจะฟื้นตัวขึ้นเช่นเดียวกับ DJIA เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากเกิดแรงขายทำกำไรในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคการลงทุนภายในประเทศอย่างหนาแน่น นำโดย SCC / KBANK / BBL บวกกับตลท. เตรียมออกมาตรการควบคุมการเก็งกำไรของ Derivatives Warrant ยิ่งกดดันจิตวิทยาการลงทุน ส่งผลให้ SET INDEX อ่อนตัวลงหลุดแนว 970 จุด ลงมาปิดที่ 964.22 จุด ลดลงเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 14.36 จุด หรือ 1.47% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 48,927 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มพลังงานวานนี้เป็นกลุ่มประคอง SET INDEX ตลอดชั่วโมงการซื้อขาย
     กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดวานนี้ได้แก่ กลุ่มพลังงาน +0.23% และกลุ่ม Property Fund +0.13% ขณะที่กลุ่มที่มีการปรับฐานลงแรงได้แก่กลุ่มขนส่ง 3.20%, กลุ่มปิโตรเคมี -2.94%, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง -2.91%
     คาดว่า SET INDEX อาจย่อตัวลงสู่ 960 จุดก่อนที่เกิด Technical Rebound บวกกับแรงเก็งกำไรของนักลงทุนภายในประเทศกลับมีอีกครั้ง
     ภาพ SET INDEX ในวันนี้ KimEng ประเมินว่า SET INDEX ยังมีโอกาสของการย่อตัวลงทดสอบแนว 960 จุด ก่อนที่เกิด Technical Rebound และกลับมาเดินหน้าสู่ระดับ 1,000 จุดได้ภายในสัปดาห์นี้เป็นอย่างเร็ว หรือสัปดาห์หน้าเป็นอย่างช้า ด้วยเพราะ
     1.การปรับฐานลงแรงของวานนี้เป็นเพียงจิตวิทยาการลงทุนเท่านั้น: เนื่องจากมีกระแสเข่าวที่เข้ามากดดันจิตวิทยาการลงทุนตลอดชั่วโมงการซื้อขายไม่น้อย เช่น
        a. มาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท: หลังค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าระหว่างชั่วโมงการซื้อขายต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน ซึ่งหากประเมินถึงความเป็นไปได้ในช่วงสั้นถือว่าค่อนข้างจำกัด เพราะผู้ว่าการธปท. ดร.ประสาร ได้เดินไปเข้าร่วมการประชุมกับ IMF ต่างประเทศ ซึ่งจะกลับมาช่วงกลางเดือนต.ค.นี้
        b. รัฐบาลสวิสเสนอให้ UBS - CS ต้องเพิ่มทุนขนานใหญ่: ราว 19% ของสินทรัพย์รวม หากต้องดำเนินการตาม Basel III แต่ต้องไม่ลืมว่า คณะกรรมการ Basel III มีแนวความคิดที่จะเลื่อนการใช้มาตรฐานดังกล่าวออกไปอีก 2-3 ปี และให้ระยะเวลาราว 10 ปีในการปรับตัวเข้ามาตรฐานดังกล่าว และประเด็นนี้ ดูไม่น่าจะเข้ามากดดันการลงทุนของตลาดหุ้นไทยได้เช่นกัน
        c. ตลท.เตรียมหามาตรการป้องกันการเก็งกำไรใน Derivatives Warrant: แน่นอนว่าประเด็นเป็นจุดที่ตลท.ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะตลอดเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา มีการเก็งกำไรผ่าน DW เป็นจำนวนมาก และทำให้ราคาเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน และหุ้นที่ใช้อ้างอิง ถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะส่งผลกระทบต่อน้ำหนักดัชนีตลาดหุ้นไทยแบบแทบไม่มีนัยยะสำคัญ แต่ในแง่ของจิตวิทยาการลงทุนของนักลงทุนภายในประเทศ ถือว่ามีผลค่อนข้างมาก
     2.กระแสเงินทุนต่างชาติเชื่อว่าจะไม่ยุติลงได้ง่ายๆ ในช่วงสั้นนี้: เพราะหากประเมินจากทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ย่อมทำให้ค่าเงินในสกุลท้องถิ่นทั่วเอเชีย ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและแข็งแกร่ง มีทิศทางที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี นั้นย่อมหมายความว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นน่าจะยังเห็นการเติบโตในเกณฑ์ที่ดีเช่นกัน บวกกับการทำ US Dollar Carry Trade ที่ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติยังคงหาแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ มาใช้ในการลงทุเพื่อหาผลตอบแทนจากการลงทุนส่วนเกินผ่านตลาดเงินและตลาดทุนในเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย
     3.คาดสถาบันภายในประเทศน่าจะกลับมาสะสมหุ้นอีกครั้ง: หลังทยอยขายหุ้นเพื่อ Lock in profit มาตลอด 3 วัน รวมทั้งสิ้น 2,878 ล้านบาท เมื่อ SET INDEX ปรับฐานลงสู่บริเวณ 960 จุด บวกกับกระแสเงินทุนต่างชาติที่หนาแน่นทั่วเอเชีย และไทย ย่อมทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้อาจหาจังหวะและโอกาสของการกลับเข้ามาลงทุนตลาดหุ้นอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าหุ้นที่คาดว่าผลการดำเนินงานใน 3Q และ 4Q จะยังเห็นการเติบโตอย่างโดดเด่นต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นปรับฐานลงแรงน่าจะเป็นเป้าหมายระดับต้นๆ ของนักลงทุนกลุ่มนี้
     4.ขณะที่ประเด็นการเมือง ณ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่รับได้: แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากการเริ่มสอบพยานฝ่ายจำเลยตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 ก.ย. และจะดำเนินทุกๆ วันจันทร์ไปจนถึงวันที่ 18 ต.ค. และหลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาในการพิจรณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์อีก 15-45 วัน ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวน่าจะกลับมากดดันตลาดหุ้นไทยอีกครั้งในเดือนพ.ย. ขณะที่การเคลื่อนไหวของพรรคร่วมรัฐบาล ณ ปัจจุบันยังอยู่ในวิสัยที่รับได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ประเด็นเสี่ยงนี้ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
     ด้วยประเด็นข้างต้น KimEng ยังคงให้นักลงทุน "ถือพอร์ตการลงทุนส่วนที่เหลือ" เพื่อรอขายทำกำไรบริเวณ 990 จุดหรือสูงกว่า และถือเงินสดมากขึ้น แต่การปรับฐานลงแรงของ SET INDEX วานนี้กลับกลายเป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามาสะสมหุ้นที่ราคาปรับฐานลงแรง แต่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะหุ้นที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานใน 3Q53 - 4Q53 เติบโตอย่างแข็แกร่ง
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้นักลงทุน "ทยอยสะสม" หุ้นต่อไปนี้
     1.AMATA : ราคาปิด 14.80 บาท ราคาเหมาะสม 20.50 บาท
        a. ราคาหุ้นวานนี้ปรับฐานลงแรงถึง 7.50% เทียบกับกลุ่มอสังหาฯ ลดลงเพียง 2.87%
        b. มุมมองด้านปัจจัยพื้นฐานยังเป็นบวกต่อเนื่อง การปรับฐานลงแรงของราคาหุ้นวานนี้ กลับกลายเป็นโอกาสของการเข้าสะสมหุ้นอีกครั้ง
        c. KELIVE คาดว่าผลประกอบการของ AMATA ใน 2H53 จะแข็งแกร่งกว่า 1H53 ที่ผ่านมาโดยเราคาดกำไรสุทธิของ 2H/53 ที่เท่ากับ 365 ล้านบาท (60% ของประมาณการกำไรสุทธิของปี 2553 ที่เท่ากับ 604 ล้านบาทสะท้อนการเติบโต 90% yoy) ปี 2554 ประเมินว่า AMATA จะสามารถเติบโตต่อเนื่องจากจำนวนที่ดินที่คาดว่าจะขายได้มากกว่าปีนี้ โดยเราประเมินรายได้ที่เท่ากับ 5,105 ล้านบาทเติบโต 55% yoy และกำไรสุทธิที่คาดว่าดีขึ้นจากการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นจึงคาดกำไรสุทธิเติบโต 112% yoy เท่ากับ 1,284 ล้านบาท (ESP ปี 2554 เท่ากับ 1.20 บาท/หุ้น)
     2. KTB: ราคาปิด 16.90 บาท ราคาเหมาะสม 19.20 บาท
        a. ราคาหุ้น KTB วานนี้ปรับฐานลงถึง 2.87% เทียบกับกลุ่มธนาคารลดลง 1.65% ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น KTB นั้นไม่เปลี่ยนแปลง
        b. ประเมินกำไรสุทธิ 3Q53 ของ KTB ไว้ที่ 4,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูง 24.8% qoq สาเหตุหลักมาจากการรับรู้เงินปันผลรับจากกองทุนวายุภักษ์ประมาณ 880 ล้านบาท ประกอบกับสินเชื่อที่ขยายตัวต่อเนื่อง แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่ากำไรสุทธิลดลงเล็กน้อย 0.9%  เนื่องจากปีก่อนมีอัตราภาษีที่แท้จริงต่ำที่ 24.1%
        c. คุณภาพสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยสิ้น 2Q53 มี NPL Ratio ลดลงจาก 6.49% ณ สิ้นปี 2552 มาอยู่ที่ 5.98% ในขณะที่มี Coverage ratio เพิ่มขึ้นจาก 47.72% เป็น 54.07% ส่งผลให้ธนาคารไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งสำรองฯพิเศษขึ้นในระยะสั้น-กลาง ดังนี้ KELIVE ปรับลดสมมติฐานการตั้งสำรองปี 2553 ลงจาก 7.5 พันล้านบาท เป็น 6.5 พันล้านบาท และปี 2554 ลดลงจาก 8.5 พันล้านบาท เป็น 6.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2553-2554 ปรับเพิ่มขึ้น 4.6% และ 6.0% ตามลำดับ
What will DJIA move tonight? 
คืนนี้มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ คือ
     1. ดัชนี ISM ภาคบริการเดือนก.ย.: ตลาดคาดว่าจะขยับขึ้นเป็น 52.1 จุด จากเดือนก่อนหน้า 51.5 จุด 
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets เม็ดเงินทุนต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 16
     กระแสเงินทุนต่างชาติวานนี้ ตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชียไม่รวม SET พบว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องและในอัตราเร่งขึ้นเป็น US$749 ล้าน และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ตลาดพร้อมกัน หลัง DJIA - NYMEX ปรับตัวดีขึ้นในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา อีกทั้งทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า ทำให้กระแสเงินทุนต่างไหลเข้าตลาดหุ้นในเอเชีย โดยเฉพาะตลาดหุ้นเกิดใหม่
     ทั้งนี้ตลาด KOSPI เป็นเป้าหมายหลักของการสะสมหุ้นอย่างโดดเด่นถึง US$594 ล้าน ตามมาด้วย TAIEX ซื้อสุทธิ US$87 ล้าน ขณะที่ตลาด PSE นั้นต่างชาติซื้อสุทธิต่ำที่สุดเพียง US$2 ล้านเท่านั้น
ธุรกรรม Short-Selling วานนี้มูลค่ารวมของ Short-selling เพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ไม่ชัดเจน
Stock    Total Value   % of trading   Avg.Price
           (mn Bt)        Volume        (Bt)
PTTEP       61.78          1.84%       161.31
CPF         37.35          2.69%        24.41
PTTCH       34.12          1.90%       133.90
BAY         26.01          2.20%        25.05
KBANK       23.34          3.14%       114.68
     การทำธุรกรรม Short-selling วานนี้เพิ่มขึ้นเป็น 308 ล้านบาท หลัง SET Index เริ่มปรับฐานลงแรงอีกครั้ง ทำให้นัลลงทุนส่วนใหญ่กลับมาให้ความสนใจลงทุนผ่าน Short sales มากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นที่ราคาขยับขึ้นอย่างโดดเด่น สวนทางกับภาพรวมของ SET INDEX อย่าง PTTEP ที่มีสัดส่วนมากถึง 20% ของการทำ Short-selling อย่างไรก็ตาม ด้วยทิศทางราคาน้ำมัน NYMEX ที่ทรงตัวเหนือ US$81 บวกกับแนวโน้มผลการดำเนินงานของ PTTEP ใน 3Q53 และ 4Q53 ยังคงเป็นบวก ด้วยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และการบันทึกเงินประกันภัยรับ
     วานนี้มีเพียงนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย แม้ว่าบรรยากาสการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้จะไม่เอื้อก็ตาม
     แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้จะเป็นลบอย่างชัดเจน แรงขายหุ้นขนาดใหญ่โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค และการลงทุนภายในประเทศจะปรับฐนลงอย่างโดดเด่น แต่กลับกลายเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อหุ้นไทยได้ในต้นทุนที่ลดลง วานนี้นักลงทุนกลุ่มนี้เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ 3,567 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 ด้านตลาด Futures นั้นยังคง Long สุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 160 สัญญา แต่มูลค่ากลับขายสุทธิ 501 ล้านบาท ทำให้ไม่สามารถประเมินมุมมองของนักลงทุนต่างชาติผ่านตลาด Futures ได้
     ขณะที่ตลาดตราสารหนี้นักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 อีก 2,320 ล้านบาท ลดลงจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 12,773 ล้านบาท โดยรวมแล้วนักลงทุนต่างชาติยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดเงิน และตลาดทุนไทย รวมถึงทิศทางค่าเงินบาทน่าจะยังแข็งค่า ตามทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า
NVDR ซื้อสุทธิต่อเนื่อง เป็นวันที่ 13 ทั้งนี้เม็ดเงินกว่าครึ่งเป็นการซื้อสุทธิในกลุ่มธนาคาร
     การซื้อขายผ่าน NVDR วานนี้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 13 มากถึง 2,100 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 1,531 ล้านบาท และทำให้ยอดซื้อสะสมตลอด 13 วันทำการมากถึง 21,861 ล้านบาท ทั้งนี้กลุ่มธนาคารที่ปรับฐานลงอย่างชัดเจน กลายเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าสะสมผ่าน NVDR อย่างโดดเด่นเพราะแนวโน้มผลการดำเนินงานใน 3Q - 4Q 2553 ยังคงเห็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและโดดเด่น จากการเติบโตของสินเชื่อ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ภาพรวม NVDR สรุปได้ดังต่อไปนี้
     1. กลุ่มธนาคารกลับมาเป็นเป้าหมายหลักของการซื้อสุทธิสูงสุดอีกครั้ง 1,102 ล้านบาท เทียบกับวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 293 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มพลังงาน 644 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 828 ล้านบาท กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่ม ICT ซื้อสุทธิ 300 ล้านบาท และ 74 ล้านบาท ตามลำดับ
     2. ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นเป้าหมายของการลดน้ำหนักการลงทุนมากที่สุด 72 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มค้าปลีกขายสุทธิ 48 ล้านบาท และ 20 ล้านบาทตามลำดับ
ซื้อสุทธิสูงสุด   มูลค่าสุทธิ  % มูลค่าการซื้อขาย  ขายสุทธิสูงสุด   มูลค่าสุทธิ % มูลค่าการซื้อขาย
            (ล้านบาท)                                          (ล้านบาท)    
SCB          603.76        28.90        LPN        -99.05       13.70
SCC          270.16        19.03        BCP        -89.06       12.35
PTTAR        265.88         9.23        KTB        -81.00        6.37
KBANK        261.31        52.87        STEC       -58.72       10.34
BAY          212.31        13.30        AP         -47.89       10.33
     กลุ่มธนาคารที่เป็นเป้าหมายของการสะสมอย่างโดดเด่นวานนี้ NVDR ซื้อสุทธิใน SCB มากที่สุดถึง 604 ล้านบาท ด้วยมุมมองเชิงบวกต่อการขยายตัวของสินเชื่อในช่วง 2H53 หลังจากที่ชะลอตัวลงใน 1H53 บวกกับราคาหุ้นเทียบกับ KBANK ปรับฐานลงมาค่อนข้างมากแล้ว ทำให้เกิดช่องว่างของการขยับขึ้นของราคาได้โดดเด่น อย่างไรก็ตาม NVDR ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นธนาคารอื่นๆ อย่าง KBANK และ BAY ต่อเนื่องด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะมีการขายทำกำไรใน KTB ออกมาบ้างก็ตาม 81 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิวันแรกในรอบ หลายวันทำการ
     ด้านกลุ่มพลังงาน NVDR ยังคงเลือกสะสมหุ้นหลักของกลุ่มอย่าง PTT / PTTEP อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่โดดเด่นเหมือนวันก่อนหน้าก็ตาม แต่หุ้นทั้ง 2 นั้น NVDR สะสมอีก 185 ล้านบาท และ 157 ล้านบาท ขณะที่กลับมาให้ความสนใจต่อ PTTAR มากที่สุดวานนี้ 266 ล้านบาท แต่กลับเลือกขายสุทธิใน BCP 89 ล้านบาท ซึ่งเป็นหุ้น Laggard ของกลุ่มอย่างชัดเจน ทำให้เป็นจุดที่น่าสนใจ