พฤหัสฯ 14 ต.ค.--หยิบเงินหยิบทอง :
ที่มา : บล.กิมเอ็ง

กลยุทธ์วันนี้   Thai Baht Measure
     ประเด็นสำคัญวันนี้ ตลาดหุ้นไทยวานนี้ฟื้นตัวขึ้นชดเชยกับการปรับฐานลงแรงเมื่อวันศุกร์ สะท้อนความเชื่อมั่นต่อมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทที่รมว.คลังจะเสนอในวันนี้ จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในขอบเขตที่จำกัด บวกกับกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อีก 671 ล้านบาท พร้อมกับการซื้อตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง แต่ก็เพียง 268 ล้านบาท
     ทิศทาง SET INDEX วันนี้จะดีดตัวขึ้นแรง หรือปรับฐานลงแรง ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทที่รมว.คลังเสนอในการประชุมครม.เช้าวันนี้ หากมีเพียงมาตรการภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนที่กำไรของตลาดตราสารหนี้ และมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกเพิ่มเติมด้วยแล้ว เชื่อว่าจะเกิดการโยกเงินทุนจากตลาดตราสารหนี้เข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง และชัดเจนมากยิ่งขึ้น บวกกับนักลงทุนภายในประเทศ และสถาบันภายในประเทศ จะกลับมาซื้อสุทธิหนาแน่นอีกครั้ง เพราะเกิดความชัดเจนต่อแนวทางการแก้ไขค่าเงินบาท
     อย่างไรก็ตาม มาตรการแก้ไขค่าเงินบาทที่จะพิจารณาในวันนี้นั้น อาจช่วยเหลือให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้จำกัด และในระยะช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะหากประเมินจากปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า นอกจากเรื่องของ Demand - Supply แล้ว ประเด็นค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า ย่อมเป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาท และเงินสกุลท้องถิ่นในเอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
     กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ : KimEng เสนอ "ถือพอร์ตการลงทุนส่วนที่เหลือ"  และแนะนำ "ซื้อ" BEC / SMT
     การลงทุนทางเลือก : แนะนำให้นักลงทุน "ถือสถานะ Long ใน S50Z10 ข้ามวัน" Stop Loss: S50Z10 < 658 จุด ปิด Long และ Wait&See
Portfolio Hold: CPF/ MINT/  MAJOR/ BBL/ KTB/ BAY/ KBANK/ BANPU / PTTEP / BCP/ CPALL/ TTA/ THCOM/ BLAND/ DELTA / KCE/ AMATA/ RCL/ DTAC/ SCC/ THAI/ TVO/ AP
BUY:            BEC / SMT 
Technical View  แนวรับ 955-960 จุด, 946 จุด และ 930 จุด ส่วนแนวต้าน 985-990 จุด, 999 จุด และ 1080 จุด ถือครองหุ้นพื้นฐานตามแนวโน้มได้ในระยะกลาง
Strategy Today
SET INDEX ฟื้นตัวชดเชยกับการปรับฐานลงแรงเมื่อวันศุกร์ จากแรงเก็งกำไรมาตรการแก้ไขค่าเงินบาท
     ตลาดหุ้นทั่วเอเชียวานนี้ปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับ DJIA คืนวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่สำหรับตลาดหุ้นไทยแล้ว กลับปิดบวก 14.66 จุดหรือ 1.53% ปิดที่ 977.85 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางเพียง 27,700 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย บวกกับแรงเก็งกำไรต่อมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทที่รมว.คลัง จะเสนอต่อครม.ในวันนี้นั้น น่าจะมีเพียงมาตรการในตลาดตราสารหนี้เท่านั้น พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกเพิ่มเติม จากผลกระทบค่าเงินบาท ทำให้หุ้นขนาดใหญ่ ทั้งกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารขยับขึ้นอย่างโดดเด่นวานนี้
     กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ กลุ่มเกษตร +4.01%, กลุ่ม Packaging +3.39%, กลุ่มไฟแนนซ์ +2.49% ส่วนกลุ่มหลักอย่างกลุ่มพลังงาน +1.97% กลุ่มธนาคาร +1.49% กลุ่มปิโตรเคมี +2.03% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ +2.03%
ทิศทาง SET INDEX วันนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทเป็นสำคัญ
     คาด SET INDEX วันนี้จะมีทิศทางอย่างไร ขึ้นอยู่กับมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทของรมว.คลังเสนอต่อครม.เช้าวันนี้
     1. หากมีมาตรการด้านภาษีเฉพาะในส่วนของตลาดตราสารหนี้: ความเป็นไปได้ที่จะหยิบภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกำไรจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้กลับมาใช้อีกครั้ง
        ความเห็นของทาง KimEng เชื่อว่าหากนำภาษีดังกล่าวกลับมาใช้ น่าจะเริ่มจากระดับ 3-5% เพื่อประเมินผลของมาตรการดังกล่าว ว่าสามารถลดแรงเก็งกำไรค่าเงินบาท ผ่านตลาดตราสารหนี้ได้หรือไม่ เพราะหากกลับไปใช้ในอัตราเดิม 15% ทันที อาจทำให้กระทรวงการคลังมีข้อจำกัดในการขยับขึ้นครั้งต่อๆ ไป หากมาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถหยุดยั้งการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้และหากมาตรการที่ออกมาใช้วันนี้ ถูกจำกัดเพียงตลาดตราสารหนี้ เชื่อว่า
        a. กระแสเงินทุนต่างชาติบางส่วนจะโยกจากตลาดตราสารหนี้เข้าตลาดหุ้นไทย: เพื่อเป็นการลดแรงกดดันของผลตอบแทนจากการลงทุนบางส่วน
        b. นักลงทุนภายในประเทศและสถาบันภายในประเทศน่าจะกลับมาซื้อสุทธิ: เพราะเมื่อความชัดเจนต่อมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ย่อมทำให้นักลงทุนทั้ง 2 กลุ่มสามารถประเมินสถานการณ์และกลับมาสะสมหุ้นไทยอีกครั้ง
        c. เงินบาทอ่อนค่าลงได้ไม่นาน: แน่นอนว่านักลงทุนต่างชาติอาจต้องลดพอร์ตการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เพื่อ Lock-in-profit น่าจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงได้ไม่นาน หากค่าเงินดอลลาร์ยังคงมีทิศทางของการอ่อนค่าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเฟดออกมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินรอบที่ 2 ในต้นเดือนพ.ย.
     2. แต่หากมีมาตรการเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นไทย: เช่นการใช้มาตรการภาษีหัก ณ ที่จ่ายของส่วนกำไร เช่นเดียวกับตลาดตราสารหนี้ เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจำเป็นต้องลดพอร์ตการลงทุน ด้วยการขายหุ้นหลักออกมาในวันนี้ แต่ SET INDEX อาจไม่ปรับฐานลงแรงเหมือนกรณีของ Capital Control เพราะ
        a. กระแสเงินทุนภายในประเทศรองรับแรงขาย: เพราะตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนสถาบันภายในประเทศ และนักลงทุนทั่วไปทยอยขายทำกำไรเป็นระยะๆ บวกกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน ทำให้นักลงทุนระมัดระวังต่อการลงทุน ดังนั้นหากมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติออกมา SET INDEX ปรับฐานลงแรง อาจกลายเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุน 2 กลุ่มนี้เข้าซื้อ
        b. คาดเงินบาทอ่อนค่าลงได้เพียงช่วงสั้นอีกเช่นกัน: แน่นอนว่ามาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนค่อนข้างมาก และทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากประเทศไทยในวันนี้ แต่หากสหรัฐฯ ยังคงใช้นโยบายค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า นั้นย่อมทำให้เงินบาทไทยต้องกลับมาแข็งค่า เพื่อในท้ายที่สุดอีกเช่นกัน
     จากแนวทางข้างต้น KimEng เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดในกรณีที่ 1 มีน้ำหนักค่อนข้างมาก หากเป็นไปตามคาด เชื่อว่า SET INDEX จะสามารถดีดตัวขึ้นทดสอบแนว 1,000 จุดภายในสัปดาห์นี้ หรือต้นสัปดาห์หน้าได้ไม่ยาก จากเม็ดเงินทุนต่างชาติที่โยกจากตลาดตราสารหนี้เข้าตลาดหุ้นไทย พร้อมกับการกลับมาซื้อสุทธิของสถาบันภายในประเทศ
     ดังนั้น ภาพรวมกลยุทธ์ KimEng เสนอให้ "ถือพอร์ตการลงทุน" เพื่อรอจังหวะขายทำกำไรบริเวณ 990 จุดหรือสูงกว่านั้น และถือเงินสด แต่หากนักลงทุนต้องการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในช่วงสั้นๆ เพื่อเก็งกำไรต่อเนื่องจากมาตรการในวันนี้ อาจต้องเลือกหุ้นขนาดใหญ่ที่คาดว่าผลการดำเนินงานใน 3Q53 และต่อเนื่องถึง 4Q53 จะเติบโตโดดเด่น โดยเน้นหุ้นที่ไม่ใช่กลุ่มธนาคาร
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ ทยอยสะสม หุ้นดังต่อไปนี้
     1. BEC: ราคาปิด 36.75 บาท  
        a. วานนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของ BEC ประกาศขายหุ้นลักษณะ Private Placement (PP) จำนวน 100 ล้านหุ้น ราคา 34 บาท เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่หุ้น BEC และน่าจะทำให้แรงกดดันของราคาหุ้น BEC ลดลง 
        b. KELIVE ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของ BEC ในช่วง 2H53 จากโดยในเดือน ก.ค. รายได้ค่าโฆษณามีการเติบโตแข็งแกร่งจากการปรับขึ้นค่าโฆษณาสำหรับรายการละครช่วงเย็น รายการเก็บตก รายการสีสันบันเทิง ในอัตรา 9% และ รายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ปรับขึ้น 13% ขณะที่อัตราการใช้เวลาโฆษณาสำหรับรายการช่วงนอกไพร์มไทม์ก็เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีรายได้จากการออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลกในช่วงดึก สำหรับรายได้จากกิจกรรมและการแสดงในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวดีขึ้นจากครึ่งแรกของปีเนื่องจากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายลง และมีการจัดประกวด Miss Thailand World และ การแข่งขันเทนนิส
        c. กำไรปีนี้จะเติบโต 18% เป็น 3,102 ล้านบาท (1.55 บาท/หุ้น) และเพิ่มขึ้น 8% เป็น 3,339 ล้านบาท (1.67 บาท/หุ้น) ในปีหน้า อย่างไรก็ดีในประมาณการยังไม่ได้รวมค่าตอบแทนเพิ่มเติมในการต่อสัมปทานช่อง 3 ที่ต้องจ่ายให้กับ MCOT ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเป็นจะเป็นจำนวนเงิน 405 ล้านบาทตามที่ทาง BEC เสนอหรือมากกว่านี้
     2. SMT: ราคาปิด 11.80 บาท ราคาเหมาะสม 14.40 บาท
        a. คาดการประชุมนักวิเคราะห์ในวันนี้ ตลาดอาจมีการปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 2553 ขึ้นจาก ณ ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 459 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิใน 1H53 SMT ทำได้แล้วทั้งสิ้น 231 ล้านบาท ซึ่งหากประเมินจาก 2H ของทุกปีจะเป็นช่วง High Season ของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน หากมีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ และปีหน้าขึ้น ย่อมนำมาซึ่ง การปรับราคาเป้าหมายด้วยเช่น ณ ปัจจุบัน เฉลี่ยอยู่ที่ 12.50 บาท (www.settrade.com)
        b. KELIVE คาดการเบื้องต้นว่ากำไรปกติ 3Q53 จะโต 103% yoy และ 9% qoq เป็น 130 ล้านบาท ซึ่งเป็นสถิติใหม่  + กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกราว 10-15 ล้านบาทเป็นกำไรสุทธิ 140-145 ล้านบาท  และคาดว่ากำไรจะเติบโตต่อเนื่องในไตรมาส 4/53  โดยธุรกิจที่ผลักดันการเติบโตคือ ระบบสัมผัสหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart-phone และ ระบบเซ็นเซอร์วัดลมยาง (TPMS)
        c. คาดว่าบริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล (งวด ครึ่งปีแรก) ที่ 0.20 บาท/หุ้นด้วย
What will DJIA move tonight? 
     คืนนี้ไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ 
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets เม็ดเงินทุนต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 20 โดยกระจุกตัวอยู่ที่ TAIEX - KOSPI

     กระแสเงินทุนต่างชาติของตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชียไม่รวม SET วานนี้พบว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเป็น US$400 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$119 ล้าน เมื่อนักลงทุนต่างคาดหวังว่าเฟดจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินเข้าสู่ระบบอีกระลอก ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในเอเชีย ในส่วนของภาคการส่งออกขยับดีขึ้น รวมถึงค่าเงินในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มแข็งค่า ทำให้นักลงทุนต่างชาติน่าจะมีมุมมองเชิงบวกต่อประเด็นเหล่านี้
     ทั้งนี้การซื้อสุทธิยังคงกระจุกตัวในตลาดหุ้นหลักอย่าง TAIEX ซื้อสุทธิมากถึง US$212 ล้าน ตามมาด้วย KOSPI ซื้อสุทธิ US$204 ล้าน ขณะที่ตลาด JSE และ PSE ถูกลดน้ำหนักการลงทุน US$12 ล้านและ US$4 ล้านตามลำดับ
ธุรกรรม Short-Selling วานนี้ตลาดกลับมาทำธุรกรรม Short-selling อีกครั้ง แต่มูลค่าไม่มาก
โดยกระจุกตัวในหุ้นหลักที่ราคาขยับขึ้นโดดเด่น
     Stock            Total Value   % of trading     Avg.Price
                        (mn Bt)        Volume           (Bt)
PTT                      36.02          2.04%          304.51
PTTEP                    30.29          1.35%          168.25
BBL                      23.25          2.76%          156.47
KBANK                    21.05          4.05%          116.97
PTTCH                     8.03          2.44%          133.76
     การทำธุรกรรม Short-selling วานนี้รวมทั้งสิ้น 146 ล้านบาท จากวันศุกร์ที่ไม่มีธุรกรรมดังกล่าว เมื่อ SET INDEX ฟื้นตัวขึ้นอย่างโดดเด่นวานนี้ ทำให้นักลงทุนบางส่วนกลับมาทำธุรกรรมลักษณะนี้อีกครั้ง แต่ก็เป็นไปอย่างระมัดระวังเช่นกัน เพราะปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางของ SET INDEX คือ มาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทของรมว.คลังในวันนี้
     และเมื่อหุ้น PTT / PTTEP ขยับขึ้นอย่างโดดเด่น จึงกลายเป็นเป้าหมายของการทำ Short Sales นั้นเอง เพราะหากมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทมีผลกระทบต่อตลาดหุ้น หุ้นทั้ง 2 ย่อมเป็นเป้าหมายลำดับต้นๆ ของการลดน้ำหนักการลงทุนเช่นกัน รวมถึง PTTCH ซึ่งเป็นหุ้น High Beta แม้ว่าราคาหุ้นวานนี้จะเคลื่อนไหวได้จำกัดก็ตาม
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดวานนี้ แม้ว่าจะมีมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทแข็งค่าในวันนี้ก็ตาม
     สภาพคล่องทางการเงินที่ล้นอยู่ในระบบการเงินทั่วโลก บวกกับทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ทำให้เงินทุนต่างชาติมีข้อจำกัดในการลงทุนมากขึ้น และถึงแม้ว่าวันนี้ รมว.คลังไทยจะมีการเสนอมาตรการแก้ไขค่าเงินบาท ซึ่งคาดว่ามาตรการภาษีในตลาดตราสารหนี้จะถูกหยิบยกมากดดันกระแสเงินทุนต่างชาติ แต่นักลงทุนต่างชาติกลับยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดวานนี้ โดยตลาดตราสารหนี้ ซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงสุด ซื้อสุทธิ 268 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 2,897 ล้านบาท
     ด้านตลาดหุ้นไทยนักลงทุนกลุ่มนี้ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อีก 671 ล้านบาท ลดลงจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ  2,872 ล้านบาท รวมถึงการมีสถานะสุทธิ Long ในตลาด Futures ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 และมากถึง 2,619 สัญญา มูลค่าซื้อสุทธิ 56 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่านักลงทุนต่างชาติวานนี้ Long สุทธิในสินค้าประเภทใดของ FUTURES และ NVDR ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แม้ว่ามูลค่าซื้อสุทธิจะลดลง แต่หุ้นกลุ่มหลักยังคงเป็นเป้าหมายหลัก
     สภาพคล่องทางการเงินที่ล้นอยู่ในระบบการเงินทั่วโลก บวกกับทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ทำให้เงินทุนต่างชาติมีข้อจำกัดในการลงทุนมากขึ้น และถึงแม้ว่าวันนี้ รมว.คลังไทยจะมีการเสนอมาตรการแก้ไขค่าเงินบาท ซึ่งคาดว่ามาตรการภาษีในตลาดตราสารหนี้จะถูกหยิบยกมากดดันกระแสเงินทุนต่างชาติ แต่นักลงทุนต่างชาติกลับยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดวานนี้ โดยตลาดตราสารหนี้ ซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงสุด ซื้อสุทธิ 268 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 2,897 ล้านบาท
     ด้านตลาดหุ้นไทยนักลงทุนกลุ่มนี้ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อีก 671 ล้านบาท ลดลงจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ  2,872 ล้านบาท รวมถึงการมีสถานะสุทธิ Long ในตลาด Futures ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 และมากถึง 2,619 สัญญา มูลค่าซื้อสุทธิ 56 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่านักลงทุนต่างชาติวานนี้ Long สุทธิในสินค้าประเภทใดของ FUTURES
     การซื้อขายผ่าน NVDR วานนี้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 อีก 344 ล้านบาท ลดลงจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 942 ล้านบาท สอดคล้องกับการรายงานภาพรวมของนักลงทุนต่างชาติทั้งตลาดหุ้นไทยซื้อสุทธิลดลงเช่นกัน รวมซื้อสุทธิทั้ง 4 วันที่ผ่านมา 4,479 ล้านบาท เป็นที่น่าสังเกตว่า NVDR เน้นการลงทุนใน 2 กลุ่มหลักอย่างกลุ่มพลังงาน และกลุ่ม ICT คล้ายคลึงกับภาพ NVDR เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  สรุปภาพ NVDR ดังต่อไปนี้
        1. กลุ่ม ICT ขยับขึ้นมาเป็นกลุ่มที่ซื้อสุทธิสูงสุด 276 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 255 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิ 274 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 398 ล้านบาท กลุ่มเกษตร และกลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิ 180 ล้านบาท และ 126 ล้านบาท ตามลำดับ
        2. ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลับถูกขายสุทธิสูงสุด 379 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอาหาร และกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ ขายสุทธิ 163 ล้านบาท และ 50 ล้านบาทตามลำดับ
ซื้อสุทธิสูงสุด   มูลค่าสุทธิ  % มูลค่าการซื้อขาย  ขายสุทธิสูงสุด   มูลค่าสุทธิ % มูลค่าการซื้อขาย
            (ล้านบาท)                                          (ล้านบาท)    
BANPU        288.59      14.64          LPN       -176.03       39.43
KBANK        204.20      42.72          CPF       -169.32        8.49
STA          193.06       8.87          SCB       -112.81       17.55
ADVANC       163.35      30.42          AP         -77.40       26.62
DTAC         116.39      18.66          QH         -60.69       17.46
     กลุ่ม ICT ที่เป็นเป้าหมายของการสะสมหุ้นผ่าน NVDR แน่นอนว่าย่อมกระจุกตัวอยู่ใน ADVANC และ DTAC ซึ่งสอดคล้องกับภาพ NVDR สัปดาห์กก่อนที่ NVDR ทยอยสะสมอย่างต่อเนื่อง วานนี้ NVDR สะสมอีก 163 ล้านบาท สำหรับ ADVANC และ DTAC อีก 116 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างหนาแน่นเช่นกัน ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นการพักเงินช่วงสั้นๆ รวมถึงผลการดำเนินงานของ DTAC ค่อนข้างเติบโตโดดเด่น เมื่อเทียบกับ ADVANC - TRUE
     ด้านกลุ่มพลังงานนั้น NVDR วานนี้เลือกสะสม BANPU มากที่ถึง 289 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 36 ล้านบาท ขณะที่หุ้นกลุ่ม PTT นั้น NVDR เลือกลงทุนใน PTT ต่อเนื่องอีก 45 ล้านบาท ชะลอตัวจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 327 ล้านบาท
     ขณะที่เริ่มเห็นการขายทำกำไรในหุ้น PTTEP 26 ล้านบาท, TOP ขายสุทธิ 16 ล้านบาท และ PTTAR ขายสุทธิ 6 ล้านบาท ทั้งนี้การเคลื่อนไหวดังกล่าวคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แม้ว่าการขายสุทธิดังกล่าวจะเป็นมูลค่าที่ไม่มากก็ตาม
     หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกปรับลดน้ำหนักการลงทุนผ่าน NVDR วานนี้ ไม่ว่าจะเป็น LPN, AP หรือ QH ที่ถูกขายสุทธิออกมาอย่างชัดเจนนั้น KimEng เชื่อว่านักลงทุนปรับน้ำหนักการลงทุนระหว่างกลุ่ม และอาจจำเป็นต้องขายทำกำไรในหุ้นบางส่วน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกลุ่มอื่นที่มี Upside Gain มากกว่า ทั้งนี้ KimEng เชื่อว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ย RP1 วันที่น่าจะทรงตัวในการประชุมวันที่ 20 ต.ค. จะมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันหุ้นกลุ่มนี้อีกครั้ง